รู้จักโซเดียมในอาหาร ข้อควรรู้สำหรับผู้ที่ชอบกินอาหารรสเค็ม




รู้จักโซเดียมในอาหาร ข้อควรรู้สำหรับผู้ที่ชอบกินอาหารรสเค็ม  


จากสถิติทั่วทั้งโลก และรวมถึงประเทศไทย พบว่า คนในยุคปัจจุบันมีการกินอาหารที่มีรสเค็มเพิ่มมากขึ้น โดยจะพบว่ามีการได้รับปริมาณของเกลือเฉลี่ยต่อคนสูงกว่าค่าปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทยที่กำหนดให้ได้รับเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา โดยที่มีโซเดียมไม่เกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม แต่ค่าเฉลี่ยของคนไทย คือ ได้รับเกลือประมาณวันละ 2 ช้อนชา โดยมีโซเดียมต่อวันมากกว่า 4,000 มิลลิกรัม การได้รับโซเดียมที่มากกว่าปริมาณที่แนะนำจะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมา 



ที่มา http://med.mahidol.ac.th/ramachannel/old/index.php/knowforhealth-20150110-2/

โซเดียมคืออะไร
สารโซเดียม เป็นหนึ่งในเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีผลต่อการเจริญเติบโต หน้าที่หลักของมันคือการเข้าไปปรับสมดุลของเหลว  ช่วยรักษาความดันเลือด ช่วยรักษาการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจ  อีกทั้งยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการดูดซึมอาหารผ่านทางลำไส้เล็กและไต ช่วยให้แคลเซียมและธาตุบางชนิดสามารถละลายในเลือดได้  โซเดียมที่เกินมาจะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ ซึ่งแม้จะเป็นตัวช่วยควบคุมความดันเลือด แต่การได้รับมากเกินไป ก็จะส่งผลให้เกิดความดันเลือดสูงตามมาได้  เราสามารถพบโซเดียมได้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ โดยเฉพาะ เกลือ กุ้ง ปู ไต เบคอน ผักผลไม้ อย่าง แครอท อาร์ติโชก หัวบีต  ซึ่งยังพบปริมาณโซเดียมได้ในอาหารแปรรูป เช่น อาหารกระป๋อง ไส้กรอก ขนมปัง อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผงชูรส น้ำและเครื่องดื่ม และเครื่องปรุงอาหาร เป็นต้น

โซเดียมจัดเป็นสารอาหารอย่างหนึ่งในร่างกายที่อยู่ในรูปของเกลือแร่ แม้ทัศนะคติของคนทั่วไปจะคิดว่าโซเดียมคือสารพิษสำหรับร่างกาย  นั่นก็เป็นเพราะปริมาณปริมาณอาหารที่เรากินกันอยู่ในปัจจุบัน มีปริมาณเกลือแร่ชนิดนี้อยู่สูง จนทำให้มันเข้าสู่ร่างกายมากเกินความต้องการ  แต่ในความเป็นจริง มันคือสารอาหารที่มีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานของระบบต่างๆ  ทว่าหากได้รับมากเกินไปเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่านั่นส่งผลให้ร่างกายพยายามขับสารส่วนเกินออก  อีกทั้งยังมีผลกระทบข้างเคียง ซึ่งการรับโซเดียมต่อเนื่อง นานวันเข้า ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพของสาวๆ ในระยะยาวได้



ที่มา http://www.thaihealth.or.th/categories/page/113/3/86/

รับประทานโซเดียมให้เพียงพอกับร่างกายต้องมีปริมาณเท่าไร
ปริมาณโซเดียมที่เพียงพอสำหรับร่างกาย แม้จะยังไม่ขนาดที่ควรกินให้พอดีในแต่ละวัน  ทว่าทางที่ดีที่สุด คือหากเป็นผู้ใหญ่ควรได้รับที่ 230 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณสูงสุดที่องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้คือ 2,500 มิลลิกรัม )  แต่ด้วยลักษณะการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบัน หันไปทางไหนก็เจอแต่อาหารที่มากด้วยโซเดียม ดังนั้นการลดปริมาณเกลือให้ได้มากที่สุด จะถือเป็นเรื่องดี  เพราะหากลองคำนวณมื้ออาหารในแต่ละวันของเราดู จะพบเรื่องน่าตกใจว่า เมนูตามสั่งทั้งหลายตามร้านอาหาร  อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง หรือจานด่วนทั้งหลาย ที่รวมไปถึงเหล่าฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) จะมีปริมาณโซเดียมสูงมาก  แน่นอนว่าใครที่รับประทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำทุกวัน แทบเลี่ยงไม่ได้เลยว่าตัวเองได้รับโซเดียมสูงอย่างต่อเนื่องแบบไม่รู้ตัว

คนที่ได้รับโซเดียมมากเกินไปมีอาการอย่างไร
โซเดียมเข้าสู่ร่างกายเกินสัดส่วนที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งจะอยู่ที่ปริมาณที่สูงกว่า 145 mmol/L เรียกกันว่า Hypernatremia ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มมากขึ้น  ดังนั้นมันจะถูกขับออกด้วยกระบวนการทำงานของไต ผ่านทางปัสสาวะ ซึ่งอาการของผู้ที่ได้รับโซเดียมเกิน  จะมีผลทำให้เกิดความดันเลือดสูง เกิดภาวะบวมน้ำ มีภาวะน้ำหนักเกิน ซึม รู้สึกกระหายน้ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  หากได้รับในปริมาณสูงจนเข้าขั้นเสี่ยงอันตราย อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด หัวใจล้มเหลวตามมาได้  การได้รับโซเดียมมากเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักเพื่อขับเอาส่วนเกินออกไป  ทำให้ไตเสื่อมสภาพเร็ว มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตตามมาได้อีกด้วย


อ้างอิง
https://mahosot.com/sodium.html
https://www.thairath.co.th/content/589380
www.manager.co.th/family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000154651


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทเพลงจากที่ได้รับการพิสูจน์โดยนักวิทยาศาสตร์แล้วว่า ช่วยคลายเครียดได้ดีที่สุด

ไขมันดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย และไขมันไม่ดีเป็นโทษต่อร่างกาย

ร้านอาหารเวียดนาม อาหารอร่อยสำหรับคนรักสุขภาพ